วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การใช้งาน internet เบื่องต้น

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต


ความหมายของอินเทอร์เน็ต
       อินเทอร์เน็ต (Internet)   คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network
        อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
        ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น  สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace



คำเกี่ยวข้องที่ควรทราบ
Cyberspace
เป็นคำที่ William Gibson นักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ เป็นผู้บัญญัติ เพื่อใช้ในเรื่องที่แต่ง
ปัจจุบันหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่าย ที่แยกกัน แต่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
แม้จะใช้กฎเกณฑ์ หรือมาตรฐาน ที่แตกต่างกันก็ตาม ดังนั้น Internet เป็นเพียงเครือข่ายหนึ่งของ Cyberspace เท่านั้น
Information Superhighway
หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ในการรับส่งข้อมูล
ดิจิทอลที่มีความเร็วสูง เชื่อถือได้ มีความปลอดภัย Internet เป็นเพียงต้นแบบหนึ่งของ I-Way นี้
เช่นกัน





 ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
 ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์
ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
    สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
    ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
    นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
    ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
    สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านการบันเทิง
    การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมี ภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
    สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
    สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้
    จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้
       
           การประยุคใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
           การติดต่อสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว
           แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก

     โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

    พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
     ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
    เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด

    การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่

      มหาวิทยาลัยยูทาห์
      มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
      มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
      สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
    และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
    งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
      พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้





      จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลา
     พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว  หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)
            ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
       ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่องและโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง







     ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

    IP address

    ภายใต้มาตรฐาน TCP/IP เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกัน จะต้องมีหมายเลขประจำตัวไว้อ้างอิงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เช่นเดียวกับเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลแต่ละคน โดยหมายเลขอ้างอิงนี้ จะเป็นหมายเลขตำแหน่งของระบบ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า IP network number หรือหมายเลข IP หมายเลขต่าง ๆ ต้องไม่ซ้ำกัน
    ดังนั้นจึงถูกควบคุมโดยหน่วยงาน (InterNIC - Internet Network Information Center) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) สหรัฐอเมริกา หรือจาก ISP ผู้ให้บริการทั่วไป ซึ่งได้ขอจาก InterNIC มาก่อนหน้านี้แล้ว
    IP number ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต (รวม 32 บิต) สามารถแทนค่าได้ 256 ยกกำลัง 4 หรือเท่ากับ 4,294,967,296 ค่า จาก 000.000.000.000 ถึง 255.255.255.255


     เขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (dot)


      และสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม เรียกว่า คลาส (Class) ได้ 5 คลาส ดังนี้


    Domain name
    ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้น
    เช่น   เว็บไซต์ของเนคเทค มีหมายเลข IP คือ 202.44.204.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.nectec.or.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเอง
    ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server
      ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"




    รูปแบบชื่อโดเมน
    รูปแบบการตั้งชื่อของ Domain ตามหลักการของ Internet มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
    โดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือ
    รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains: gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, .net, .gov
    รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ (Country Code Top Level Domains: ccTLDs) เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน หรือที่ตั้งของโดเมน มักจะใช้กับประเทศอื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึงโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงโดเมนของประเทศญี่ปุ่น
    โดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domain
    โดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain
    ตารางแสดง Top Level Domain



     เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Name
      ดเมนเนมแรก คือ symbolics.com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985   
        park คือ การจองโดเมนเนม โดยที่ยังไม่นำไปใช้งาน
        Cybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่น
        ติดตามสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลก ได้จาก http://www.domainstats.com/
        ICANN http://www.icann.org เป็นองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม, จัดสรรหมายเลขไอพี, บริหารระบบอุปกรณ์บริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไร
        ในอดีตชื่อโดเมน ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเฉลี่ยไม่เกิน 11 ตัวอักษร
        ในการขอจดชื่อโดเมนเนม จะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่
        ตรวจสอบชื่อโดเมนเนม ได้จากเว็บไซต์

               http://www.netsol.com

                 http://www.thnic.net

                               การสื่อสารแบบ Connection Orientedการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ซึ่งทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกเรียกว่า เครือข่าย IP นอกจากกฎ IP ใน OSI Model ของเครือข่าย ยังมีกฏ TCP (Transmission Control Protocol) ทั้งนี้ TCP จะเป็นการสื่อสารแบบ Connection Oriented คือมีลักษณะเหมือนกันส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน (คล้ายหมุนเบอร์ปลายทาง) จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติ Connection (วางหูโทรศัพท์)
    ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูล ลักษณะงานที่ติดต่อแบบ TCP ก็คือ e-mail, WWW, FTP

                                    การสื่อสารแบบ Connectionless
 นอกจากกฏ IP และ TCP ยังมีกฏ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล, Video




ที่มา http://student.swu.ac.th/ed4611116/et452/website/mainpagesub1.html
















      

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบปฎิบัติการ windows

ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์นั้นอาจแบ่งกว้าง ๆ ออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
๑. ระบบปฏิบัติการ (operating systems)
๒. ชุดคำสั่งสำเร็จรูป (applications หรือ application programs)
Applications ได้แก่โปรแกรมใช้งาน เช่นสร้างเอกสาร ทำบัญชี ทำฐานข้อมูล ตัดต่อภาพยนต์ ฟังเพลง อ่านข้อมูลในอินเตอร์เนท เล่นเกม เมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เราต้องการทำงานเหล่านี้ กล่าวคือเมื่อเรา ใช้คอมพิวเตอร์ เราต้องการใช้ applications เพื่อทำกิจกรรมดังที่กล่าว ปัญหาก็คือ ทำไมจึงต้องมีโปรแกรม ที่ เรียก ว่าระบบปฏิบัติการอยู่ในเครื่องด้วย โปรแกรมนี้คืออะไร ที่สำคัญก็คือ เมื่อเราไปซื้อคอมพิวเตอร์ และบอกคนขายว่าให้ใส่แต่ applications ไม่ต้องการระบบปฏิบัติการ คนขายคงคิดว่าเราโง่หรือบ้า และจะบอกว่าไม่สามารถทำให้ได้ แต่ถ้าเราบอกว่าเอาแต่ระบบปฏิบัติการ ไม่เอา applications คนขายจะไม่ นึกอะไร และสามารถทำให้เราได้
แน่นอนในแง่ทฤษฎี เป็นไปได้ว่ามีแต่ applications อยู่ในเครื่อง ไม่มีระบบปฏิบัติการ แต่ในกรณีเช่นนี้ โปรแกรมเมอร์ที่สร้าง applications จะต้องทำงานที่ยากขึ้นมาก จะต้องบอกให้โปรแกรมรู้วิธีติดต่อกับอุปกรณ์ ทั้งหลายที่เป็นส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ เช่น บอกวิธีแสดงผลบนหน้าจอ วิธีพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ วิธีเก็บไฟล์ลงดิสก์และดิสเกต แต่ละโปรแกรมที่สร้างขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์คนละคนกันอาจจะมีวิธีทำงาน กับ อุปกรณ์เหล่านี้ต่างกัน ปัญหาก็จะเกิดกับผู้ใช้ เช่น ผู้ใช้ไม่สามารถเก็บไฟล์ที่สร้างด้วยโปรแกรมคนละ โปรแกรม ไว้บนดิสก์แผ่นเดียวกันได้ เพราะแต่ละโปรแกรมมีรูปแบบในการเก็บไฟล์ในดิสก์ต่างกัน หรือเราอาจจะใช้ โปรแกรมสองอย่างพร้อมกันไม่ได้ เพราะแย่งที่ในหน่วยความจำกัน
กล่าวอีกนัยหนึ่ง โปรแกรมใช้งานแต่ละโปรแกรมมีงานพื้นฐานบางอย่างที่ต้องทำเหมือนกัน ซึ่งเป็นงานที่ เกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ วิธีแก้ไขปัญหาของการที่แต่ละโปรแกรมต่างฝ่ายต่างทำ และก่อ ปัญหา กับผู้ใช้อย่างที่กล่าวข้างต้นก็คือ ให้โปรแกรมเดียวเป็นผู้ทำงานพื้นฐานเหล่านี้ โปรแกรมนี้ก็คือระบบปฏิบัติการ (ต่อไปนี้จะเรียกระบบปฏิบัติโดยย่อว่า OS ) โปรแกรมอื่นทำงานเฉพาะของตนไป เช่นทำบัญชี เล่นเกม เมื่อจะต้องทำงานพื้นฐานก็บอกให้ OS ทำให้ การเก็บไฟล์ที่สร้างโดยโปรแกรมต่างกันก็หมดปัญหา สามารถใส่ในดิสก์แผ่นเดียวกันได้ เพราะ OS ใช้รูปแบบของตนแต่ผู้เดียวในการเก็บไฟล์ เราสามารถใช้ โปรแกรมมากกว่าหนึ่งพร้อมกันได้ เพราะ OS จะเป็นผู้กำหนดว่าให้แต่ละโปรแกรมใช้หน่วยความจำอย่างไร
เราอาจกล่าวได้ว่า OS ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ๓ สิ่ง คือ ฮาร์ดแวร์ applications และผู้ใช้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยทรัพยากรหลายหลาก เช่น CPU หน่วยความจำ เครื่องอ่านดิสก์ เครื่องพิมพ์ จอภาพ ทรัพยากรเหล่านี้มีขึ้นเพื่อผลิตงานอย่างที่ผู้ใช้ต้องการ ผู้ใช้ทำงานผ่าน applications เพราะสะดวกกว่าสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ทำงานโดยตรง (ถ้าสั่งฮาร์ดแวร์โดยตรง ก็ต้องออกคำสั่งเป็นภาษาเครื่องซึ่งประกอบด้วย ๐ กับ ๑ เท่านั้น น้อยคนสามารถทำเช่นนั้นได้) applications ก็มาใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ หน้าที่ของ OS ก็คือ เป็นตัวกลางในการแบ่งสรรการใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะอย่างที่ กล่าวข้างต้น ถ้าปล่อยให้แต่ละ applications ทำ ก็จะเกิดการแย่งชิงกัน OS จะกำหนดว่าเมื่อ applications ต่างก็เรียกร้องที่จะใช้ทรัพยากร จะให้ applications ตัวไหนใช้ทรัพยากรใดและเมื่อไร
หน้าที่ของ OS เฉพาะในส่วนที่เป็นการให้บริการกับผู้ใช้ผ่าน applications อาจจำแนกได้ดังนี้
  1. เรียกโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้เข้ามาในหน่วยความจำ และปิดโปรแกรมเมื่อผู้ใช้สั่ง หรือเมื่อโปรแกรมนั้นเกเร
  2. โปรแกรมทั้งหลายย่อมต้องการใช้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ และเนื่องจากโปรแกรมเหล่านี้มิอาจติดต่อกับ องค์ประกอบเหล่านี้ได้โดยตรง OS จึงเป็นผู้ติดต่อให้ รวมทั้งแบ่งสรรและจัดระเบียบการใช้
  3. สร้างระบบในการจัดเก็บไฟล์ และเป็นผู้จัดการระบบไฟล์ เช่น การคัดลอกไฟล์ การย้ายไฟล์ การสร้างและลบไฟล์
  4. ตรวจสอบข้อผิดพลาดในขณะโปรแกรมทำงาน บอกให้ผู้ใช้ทราบถึงปัญหา และแก้ไขถ้าเป็นไปได้
เพื่อนร่วมงานของ OS
จากที่กล่าวมาถึงหน้าที่ของ os จะเห็นได้ว่าเมื่อเราเปิดคอมพิวเตอร์ os จะต้องถูกเรียกขึ้นมาทำงานก่อนเพื่อเป็นตัวรองรับการติดต่อระหว่าง application program กับอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า os เป็นซอฟท์แวร์แรกที่ถูกเรียกขึ้นมา การที่คอมพิวเตอร์จะเรียก os ขึ้นมาได้จะต้องอาศัยซอฟท์แวร์อื่น ทั้งนี้เป็นเพราะ os อยู่ในฮาร์ดดิสก์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงกับแผงวงจรหลัก ( motherboard หรือ mainboard ) ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลัก กล่าวคือเมื่อเราพูดถึงการทำงานของคอมพิวเตอร์ สิ่งที่เป็นสมองหรือตัวทำงานก็คือ หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า CPU และ CPU อยู่บนแผงวงจรหลัก ส่วนฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่มาต่อพ่วง เปรียบได้ว่า CPU และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนี่งของแผงวงจรหลักเป็นร่างกาย ส่วนฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์ต่อพ่วงกับแผงวงจรนี้เป็นสิ่งภายนอก CPU จำเป็นจะต้องรู้ว่าจะติดต่อกับฮาร์ดดิสก์ได้อย่างไรเสียก่อนจึงจะเรียก os ซึ่งอยู่ในฮาร์ดดิสก์ขึ้นมาทำงานได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีซอฟท์แวร์อีกอย่างหนึ่งสำหรับบอก CPU ว่าจะทำงานกับฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์อื่นที่มาต่อพ่วงอย่างไร ซอฟท์แวร์นี้เรียกกันว่า BIOS ซึ่งย่อมาจาก basic input and output system เป็นโปรแกรมที่ฝังอยู่ใน chip ซึ่งอยู่บนเมนบอร์ด เมื่อเราเปิดสวิทช์ให้ไฟฟ้าไหลเข้าเครื่อง CPU จะไปเรียกโปรแกรม BIOS ที่อยู่ใน chip นี้ออกมาเพื่อทำตามคำสั่ง คำสั่งของ BIOS นี้จะบอก CPU ว่ามีอุปกรณ์ใดต่อพ่วงอยู่บ้างและจะติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านี้อย่างไร CPU ก็จะส่งสัญญาณไปตามจุดต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อตรวจตราว่าอยู่ครบหรือไม่ และจะไปที่ดิสเกตหรือฮาร์ดดิสก็เพื่อเรียก os ขึ้นมา
os ยังต้องทำงานกับซอฟท์แวร์อีกประเภทหนึ่ง คือ device drivers หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า drivers ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ต่อพ่วง เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์ อุปกรณ์แต่ละประเภทมีหลายยี่ห้อหลายรุ่น แต่ละยี่ห้อและรุ่น มักมีวิธีการทำงานแตกต่างกัน drivers เป็นโปรแกรมที่บอกกับ OS ว่าจะทำงานกับอุปกรณ์แต่ละอย่างอย่างไร เมื่อ OS เริ่มทำงาน ก็จะเรียกโปรแกรมเหล่านี้ขึ้นมาก่อน เพื่อที่ว่าเมื่อผู้ใช้ต้องการใช้อุปกรณ์ใด จะได้สั่งงาน ไปยังอุปกรณ์นั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราไปซื้อเครื่องพิมพ์ มักจะได้ดิสเกตหรือซีดีรอมมาด้วยหนึ่งแผ่น ในนั้น จะบรรจุ driver ของเครื่องพิมพ์นั้น เมื่อเราเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์กับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ต้องเรียกโปรแกรมใน แผ่นดิสเกตหรือซีดีรอมขึ้นมาทำงาน เพื่อให้ OS รู้จักวิธีการทำงานกับเครื่องพิมพ์นี้ได้ และที่บอกว่าอุปกรณ์ บางอย่างเป็น plug and play นั้น หมายความว่าเมื่อเราซี้ออุปกรณ์นั้นมา จะไม่มี driver ติดมาด้วย เพราะ OS สามารถรู้จักได้โดยไม่ต้องใช้ driver แต่ความจริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ OS มี driver นั้นอยู่ในฐานข้อมูล ของ ตนแล้ว เมื่อนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาติดตั้ง OS จะหา driver ที่ใฃ้ควบคุมอุปกรณ์นั้นจากฐานข้อมูลของตน ไม่ได้หมายความว่า OS ทำงานกับอุปกรณ์นั้นได้โดยไม่ต้องอาศัย driver
OS กับ microprocessor
เนื่องจากไมโครโปรเซสเซอร์แบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าจะออกแบบให้มีสถาปัตยกรรมอย่างไร โปรแกรมเมอร์ที่สร้าง OS จึงต้องตัดสินใจก่อนว่า จะออกแบบ OS ให้ใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ประเภทใด ที่ว่าไมโครโปรเซสเซอร์มีสถาปัตยกรรมต่างกัน หมายความว่า มีวิธีในการดำเนินตามคำสั่งของผู้ใช้ต่างกัน กล่าวคือ ผู้ใช้ต้องการให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลชุดหนึ่งไปประมวลผล และออกคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์มีหน้าที่รับคำสั่งและข้อมูลมาจากหน่วยความจำ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามคำสั่ง เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ แต่การประมวลผลนั้นทำได้หลายวิธี ผู้ออกแบบโปรเซสเซอร์มีทางเลือกที่จะให้ใช้ กระบวนการ อย่างใดอย่างหนึ่งในการประมวลผล เมื่อเลือกกระบวนการอย่างหนึ่ง ก็จะมีผลทำให้ โปรเซสเซอร์มีสถาปัตยกรรมที่ต่างไปจากถ้าเลือกอีกกระบวนการหนึ่ง และเนื่องจาก OS จะต้องติดต่อกับ โปรเซสเซอร์ OS จึงต้องถูกออกแบบให้สามารถทำงานกับกระบวนการในการประมวลผลของโปรเซสเซอร์ได้ เมื่อ OS หนึ่งถูกออกแบบให้ทำงานกับโปรเซสเซอร์ประเภทหนึ่ง ก็จะไปใช้กับโปรเซสเซอร์ประเภทอื่นไม่ได้ ถ้าจะให้ใช้ได้ ต้องเขียนโปรแกรมของ OS นั้นใหม่ให้สอดคล้องกับโปรเซสเซอร์ประเภทนั้น ตัวอย่างเช่น Windows ถูกสร้างขึ้นมาให้ใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ของ Intel หรือที่มีสถาปัตยกรรมเหมือนกัน เช่นของ AMD ดังนั้นจะนำไปใช้กับเครื่องแมคอินทอชซึ่งใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ PowerPC ซึ่งมีสถาปัตยกรรมต่างกันออกไป ไม่ได้ เช่นเดียวกับ MacOS ซึ่งถูกออกแบบให้ใช้กับ PowerPC จะนำไปใช้กับเครื่องที่ใช้ชิปของ Intel ไม่ได้ แต่ OS ที่ชื่อ BeOS ใช้ได้กับไมโครโปรเซสเซอร์ทั้งสองแบบ เพราะมีอยู่สองฉบับ ฉบับหนึ่งถูกสร้างให้เข้ากับ ชิปของ Intel อีกฉบับหนึ่งถูกสร้างให้เข้ากับ PowerPC
ประเภทต่าง ๅ ของ Windows
ในบรรดาระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ชวนให้สับสนมากที่สุด เพราะบริษัทผู้ผลิตคือ Microsoft ออกผลิตภัณฑ์วินโดวส์ที่มีหลายชื่อด้วยกัน ได้แก่
  • Windows 3.1
  • Windows for Workgroups 3.11
  • Windows 95
  • Windows 98
  • Windows NT
  • Windows 2000
  • Windows Millennium หรือเรียกอย่างย่อว่า Windows Me
  • Windows XP
สำหรับ ๒ ชื่อแรกจะไม่พูดถึงมาก เพราะไม่มีผู้นิยมใช้แล้ว และบริษัทไมโครซอฟท์ไม่พัฒนาอีกต่อไปแล้ว ทั้งสองไม่ได้เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เป็นเพียงฉากหน้าของระบบปฏิบัติการ DOS ซึ่งเป็นระบบ ปฏิบัติการ ชนิดแรกที่ไมโครซอฟท์ผลิต เนื่องจาก DOS ใช้ยาก ผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งเอง ไม่มีการใช้เม้าส์คลิ้กที่ icon ไมโครซอฟท์จึงสร้างวินโดวส์ขึ้นมาให้มีการคลิ้กเม้าส์ที่ icon ได้ แต่ต้องใช้โดยมี DOS เป็นฐาน จึงเป็นเพียงฉากหน้าของ DOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการตัวจริง
Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง สร้างขึ้นมาเพื่อแทน DOS และ Windows 3.1 เลข 95 บอกถึงปีที่ออกจำหน่าย (ค.ศ. 1995) ส่วน Windows 98 ออกจำหน่าย ค.ศ. 1998 เป็นเพียงการปรับปรุง Windows 95 ไม่ใช่ระบบ ปฏิบัติการใหม่
Windows NT พัฒนาขึ้นมาต่างหากจาก Windows 95 กล่าวคือไม่ได้ใช้ Windows 95 เป็นฐาน ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการคนละอย่างกับ Windows 95 ถึงแม้จะมีหน้าตาเหมือนกัน มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์คิดสร้าง OS ตระกูลนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะแยกระหว่าง OS ที่ใช้ในสำนักงานซึ่งโยงกันเป็นเครือข่ายประเภทที่มีแม่ข่าย กับ OS ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านซึ่งไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ LAN ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ในระบบ เครือข่าย ใน วงการธุรกิจ Windows NT แบ่งเป็น Windows NT Server ใช้ในเครื่องที่เป็นแม่ข่าย และ Windows NT Client ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย เราสามารถใช้ Windows NT Client เดี่ยว ๆ แทน Windows 95/98 ก็ได้ แต่เนื่องจากต้องการทรัพยากรของเครื่องมากกว่า จึงอาจจะไม่เหมาะสม
Windows 2000 สืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้ Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 อนึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client
Windows Millennium เป็นชื่อที่ชวนให้สับสนมากที่สุด เนื่องจากคำว่า Millennium บอกถึงสหัสวรรษใหม่ คนจำนวนมากจึงคิดว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของ Windows 2000 (ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มักเข้าใจผิดกันว่าปี 2000 คือปีแรกของสหัสวรรษใหม่) แต่ที่จริง Windows Millennium คือวินโดวส์ตระกูล Windows 95/98 รุ่นสุดท้าย หลังจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์เลิกพัฒนาวินโดวส์ตระกูลนี้
Windows XP เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุด เป็นสายพันธุ์ Windows NT แต่เพิ่มฉบับที่สำหรับให้ใช้ตามบ้านได้ด้วย เรียกว่า Windows XP Home Edition ซึ่งมาใช้แทนสายพันธุ์ Windows 95

Generation X
ในปัจจุบัน เมื่อเอ่ยถึงระบบปฏิบัติการ จะมีชื่อ ๔ ชื่อที่คุ้นกันคือ Unix, Linux, MacOS X, Windows XP ทั้งสี่มีตัวอักษรร่วมกันหนึ่งตัวเท่านั้น จึงเป็นที่มาของหัวข้อข้างบน
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าที่สุดในบรรดาที่ใช้กันในปัจจุบัน คิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1969 จุดประสงค์ดั้งเดิมเพื่อใช้ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น mainframe หรือ server เดิมไม่สามารถใช้ทำงานบนไมโครคอมพิวเตอร์ได้เนื่องจากต้องใช้ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำขนาดใหญ่ CPU ต้องมีกำลังสูง แต่ไมโครคอมพิวเตอร์ในสมัยแรกยังมีสมรรถนะต่ำ ในอดีต Unix ครองตลาดระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องแม่ข่าย ต่อมาบริษัทไมโครซอฟท์จึงสร้าง Windows NT ขึ้นมาเป็นคู่แข่ง
ในปี ค.ศ. 1991 Linus Torvalds ชาวฟินแลนด์สร้างระบบปฏิบัติการแบบ Unix ขึ้นมาใหม่ ให้ชื่อว่า Linux จริงอยู่ว่าก่อนจะมี Linux ระบบปฏิบัติการแบบ Unix มีผู้คิดขึ้นมาหลายเจ้าแข่งกันอยู่แล้ว แต่ข้อเด่นของ Linux มีสามอย่าง แรกทีเดียวสามารถมใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดตั้งโต้ะได้ ประการที่สองเป็นของฟรี และประการที่สาม เป็น open source software กล่าวคือผู้ใดต้องการ source code ของโปรแกรมก็เอาไปได้ฟรี ทั้งนี้เพื่อให้โปรแกรมเมอร์คนใดก็ได้นำ source code ไปพัฒนาตามรูปแบบที่ตนต้องการโดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ("ฟรี" กับ "open source" ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน มีโปรแกรมจำนวนมากแจกฟรี แต่ไม่เปิดเผย source code ให้ผู้ใดทราบ) ปัจจุบัน Linux มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าใครพัฒนาไปอย่างไร และสามารถนำมาใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงานได้ โดยมีผู้คิด graphical user interface เช่นเดียวกับที่ MacOS และ Windows ใช้ กลายมาเป็นคู่แข่งของระบบปฏิบัติการทั้งสอง แต่ปัจจุบันยังมีส่วนแบ่งในตลาดน้อยอยู่
แต่ Unix ไม่ต้องง้อ Linux เพื่อจะมาสถิตอยู่ในไมโครคอมพิวเตอร์ จากการที่ไมโครคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาทางด้านฮาร์ดแวร์จนมีสมรรถนะสูงเท่าเทียมกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ทำให้บริษัท Apple สร้าง MacOS พันธุ์ใหม่ขึ้นมาโดยใช้ Unix เป็นแกน ให้ชื่อว่า MacOS X ("X" ในที่นี้ไม่ใช่ตัวอักษร แต่เป็นเลขโรมัน ที่ใช้เลขนี้ก็เพราะเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อจาก MacOS 9) นับว่า Apple เป็นบริษัทแรกที่ประสบความสำเร็จในการนำ Unix แบบดั้งเดิม (กล่าวคือไม่ใช่แบบ Linux) มาทำงานบนไมโครคอมพิวเตอร์ เหตุที่ Apple ตัดสินใจเช่นนี้ก็เพราะ Unix ได้รับการพัฒนามานาน และมีเสถียรภาพสูงเนื่องจากถูกออกแบบมาให้ใช้บน server ดังนั้นแทนที่จะคิดระบบปฏิบัติการใหม่ที่มีเสถียรภาพสูงกว่า MacOS รุ่นเดิม ก็นำระบบที่ได้ผ่านการทดสอบแล้วมาเป็นแกน ที่ว่าเป็นแกนก็เพราะถึงจะมีหน้าตาไม่เหมือย Unix แต่เหมือน MacOS รุ่นเดิม แต่หน้าตานี้เป็นเพียงเปลือกที่ Apple สร้างขึ้นมาครอบตัวแกน เพื่อให้ผู้ที่ใช้ MacOS มาแต่เดิมสามารถสร้างความคุ้นเคยได้โดยง่าย
สรุปแล้วในปัจจุบันระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์มีสองค่ายใหญ่ด้วยกัน คือ Unix กับ Windows ค่ายแรกปรกกฏในรูปแบบของ Linux และ MacOS X จริงอยู่ว่ายังมีผู้ใช้ MacOS รุ่นเก่าอยู่มาก แต่ Apple ได้ประกาศเป็นทางการแล้วว่าได้เลิกสนับสนุน MacOS 9 แล้ว ในอนาคตผู้ที่ใช้ MacOS 9 ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ MacOS X อนึ่งที่แบ่งเป็นสองค่ายข้างต้นเป็นการแบ่งตามประเภท แต่ถ้าแบ่งตามยี่ห้อจะมีสาม คือ Linux, MacOS และ Windows

http://navy78.net/mainpage/news/c01.htm

แนะนําตัว

ชื่อ ศันทนีย์   ทัพบุญมี
 ชื่อเล่น    จ๋า
 เรียน    ปวส.1/21   สาขาการตลาดรอบพิเศษ
 เบอร์    0859422476